บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้ (14 ก.ค.) ภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า อย. ได้ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามแหล่งจำหน่าย
เช่น ร้านค้า และแผงลอย ในเขตกรุงเทพฯ ยโสธร และสมุทรปราการ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค พบเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้รวม 23 ยี่ห้อ ตรวจพบกรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ สารประกอบของปรอท และไฮโดรควิโนน โดยผลการตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้พบว่าเครื่องสำอางอันตรายเหล่านี้ส่วนใหญ่ลักลอบผสม สารประกอบของปรอท ซึ่งสารห้ามใช้ทั้ง 3 ชนิด ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง และเป็นสาเหตุทำให้ผิวหน้าถึงขั้นเสียโฉมได้ จึงขอเตือนประชาชนอย่าซื้อมาใช้เด็ดขาด
รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนน ได้แก่
1.นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว
2. D.C. White โลชั่นกันแดดกันฝ้า ปรับสภาพผิวจากแสงแดด
3. Sandnady NIGHT CREAM ครีมฝ้า กระ 4. N (สรรพคุณแก้ฝ้าฝังลึก หน้าหมองคล้ำ)
เครื่องสำอางที่ตรวจพบสารประกอบของปรอท ได้แก่
5.MV WHITENING CREAM ครีมแก้สิว-หน้าใส
6. KL ครีมนมผึ้งผสมโสม
7. นิว แคร์ ครีมสมุนไพรขมิ้น ครีมบำรุงผิวสมุนไพรขมิ้น
8. JIAO NUO บาชิ ครีมกลางคืน
9. JIAO NUO FAYLACIS ครีมกลางคืน
10. Silver Angel Face Day Cream
11.Gold Angel White Night Cream
12. ครีมหน้าใส ทาก่อนนอน
13. ครีมไพร
14.ครีมสมุนไพร น้ำนมข้าว NT
15.ครีมบำรุงผิวมุขหน้าขาว (ตลับขาว-น้ำเงิน)
16.ครีมมะเขือเทศ แก้สิว หน้าขาว N-T (ตลับสีชมพู)
17.ครีมสมุนไพรชาเขียว OR ครีมกลางคืน (ตลับสีเขียว)
18.ครีมแครอท แก้ฝ้า-กระ (ตลับสีส้ม)
19.ครีมนมแพะผสมสาหร่าย N-T (ตลับสีเขียว)
เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก ได้แก่
20. นิวแคร์ ครีมประทินผิวลดรอยด่างดำ
21.NEW CARE ครีมประทินผิวลบรอยด่างดำ
22.เอ็ม. วี. ไวท์เทนนิ่งครีม ครีมบำรุงผิวหน้ากลางคืน
และ 23.นิว แคร์ ไวท์ไนท์ครีม ครีมบำรุงผิวหน้ากลางคืน
ภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เครื่องสำอางที่พบสารอันตรายมักให้ รายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน
เช่น ไม่ระบุผู้ผลิต ครั้งที่ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิต การเลือกซื้อจึงควรระมัดระวัง และสังเกตฉลากเป็นลำดับแรก ฉลากที่ถูกต้องจะต้องเป็นภาษาไทย มีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ การซื้อควรซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรซื้อเพราะคำโฆษณา
สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาขาย ขอให้ซื้อจากผู้ที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน
หากเจ้าหน้าที่ อย.ไปตรวจและผู้ขายไม่สามารถนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต ส่วนบทกำหนดโทษ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องถูกระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ที่ อย. ได้ประกาศไปทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.fda.moph.go.th คลิกไปที่ “กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง” และ “เครื่องสำอางอันตราย” ซึ่งจะมีทั้งชื่อเครื่องสำอางพร้อมรายละเอียดและรูปภาพแสดงไว้.
ใช่แล้วฉลาม ฉลามถือได้ว่าเป็นสัตว์น่ากลัวที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน และมันก็เคยอยู่ในยุคไดโนเสาร์เป็นใหญ่ด้วย
ฉลามก็อบบลินมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina Owstoni (ตั้งชื่อตามเรือประมงที่ค้นพบ) เป็นฉลามทะเลลึกที่พบความลึกประมาณ 250 เมตร ถึง 1,300 เมตร พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ทั้งๆ ที่มันอยู่บนโลกยาวนานยาวนานตั้งแต่สมัยไดโนเสาร์แท้ๆ ปัจจุบันมันอาศัยอยู่ทั่วๆ ไปในแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ รูปร่างลักษณะก็เหมือนฉลามทั่วๆ ไปเพียงแต่สิ่งที่แตกคือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมันหรือก็คือจมูกที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลินหาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบบลินรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ระยะทางเท่าไหร่ แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน ส่วนขนาดความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ 3.3 -4.5 เมตร